พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ MOU

วันศุกร์ที่ 4 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2568 เวลา 09.00 น. พระเดชพระคุณพระราชพัฒนวัชรบัณฑิต,รศ.ดร. รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น, เจ้าอาวาสวัดธาตุพระอารามหลวง, รองอธิการบดีวิทยาเขตขอนแก่น เมตตาเป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น กับ หน่วยงานความร่วมมือ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดขอนแก่น, วัดท่าประชุม ต.หนองบัว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น และโรงเรียนสอนภาษาโอวหยาง ขอนแก่น
ความสำคัญของพิธีลงนามในวันนี้ นับเป็นวันที่มีความหมายสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความร่วมมือ
ทางวิชาการ (MOU) ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น เนื่องมหาวิทยาลัยจะได้ร่วมกับลงนามในมันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการจำนวน 3 เรือง กับหน่วยงานพันธมิตรที่มีความสำคัญ จำนวน 3 หน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน การศึกษาและการพัฒนาสังคมในมิติที่แตกต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคม
โดยมีรายละเอียดการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ดังต่อไปนี้
1. เครือข่ายความร่วมมือบริการวิชาการ ที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาและนิสิตโดยมีแนวทางการดำเนินงานสำคัญ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรทางวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมการศึกษาที่บูรณาการหลักพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่
2. เครือข่ายความร่วมมือด้านสุขภาวะองค์รวม โดยเน้นการพัฒนาต้นแบบกุฏิชีวาบาลตามแนวทางธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ การส่งนิสิตเข้าปฏิบัติศาสนกิจ และการสนับสนุนงานสาธารณสงเคราะห์ของมห
3. ความร่วมมือด้านการศึกษาไทย-จีน เป็นการขยายมิติความร่วมมือทางวิชาการสู่ระดับนานาชาติครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาและบุคลากร การจัดโครงการ
ค่ายฤดูร้อน การพัฒนาหลักสูตรภาษาจีน และการส่งเสริมการศึกษานานาชาติเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารหอฉันพระพิมลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

Scroll to Top
มจร วิทยาเขตขอนแก่น
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.