อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity)
อัตลักษณ์องค์กร ถือว่าเป็นตัวแทนภาพลักษณ์องค์กร สะท้อนถึงบุคลิกการทำางานขององค์กร อีกทั้งยังมีส่วนในการเสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กรในแง่ของความเป็นเอกภาพ อันจะนำไปสู่ความภาคภูมิใจ ความรัก และหวงแหนในศักดิ์ศรีขององค์กร

ตราสัญลักษณ์ พระเกี้ยว อีกแบบที่ใช้ในงานประชาสัมพันธ์และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ



1. ตราสัญลักษณ์

พระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรงฐานของพระเกี้ยวมีอักษรย่อว่า ม จ ร และมีรูปธรรมจักรวางเป็นฉากเบื้องหลัง

วงกลมครอบธรรมจักรส่วนกลางเป็นพระเกี้ยว เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ รอบกรอบด้านบนมีอักษรภาษาบาลีว่า ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต รอบกรอบด้านล่างมีอักษรว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

2. สีประจำมหาวิทยาลัย
สีชมพู เป็นสีตามวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จะยึดโทนสีชมพู ค่าสี #e5789f นี้ เป็นค่าหลัก แล้วค่อยไล่เฉดสีตามความสวยงามและเหมาะสม
3. เอกลักษณ์ของชาวอีสาน
อักษรไทน้อย (หรืออาจสะกดเป็น ไทยน้อย) เป็นตัวอักษรโบราณ ที่มีความสำคัญอย่างมากในภาคอีสานของประเทศไทยและทาง สปป.ลาว มีวิวัฒนาการมาจาก อักษรไทยสุโขทัย ที่ได้แพร่หลายมาถึงดินแดนล้านช้าง (ซึ่งครอบคลุมภาคอีสานและสปป.ลาวปัจจุบัน) มักจารึกลงในคัมภีร์ใบลาน โดยมักจะบันทึกเรื่องราวทางโลก เช่น วรรณกรรมพื้นบ้าน กฎหมายและจารีตประเพณี พงศาวดารหรือตำนานเมือง ตำราหมอดู ตำรายาพื้นบ้าน จดหมายหรือเอกสารราชการทั่วไป
มหาวิทยาลัยมหาจุจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ในฐานะวิทยาเขตแห่งภาคอีสานได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของภาคอีสาน จึงได้จัดทำแบบอักษรไทน้อยขึ้นมาเพื่อรณรงค์การใช้อักษรไทน้อยและเผยแพร่ต่อไป
อักษรธรรมอีสาน เป็นอีกหนึ่งของชุดตัวอักษรโบราณ ที่มีความสำคัญอย่างมากในภาคอีสานของประเทศไทย มีพัฒนาการมาจากอักษรมอญ และอักษรล้านนาของไทย ใช้เขียนพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นิยมใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๐๐ เป็นต้นมา เมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว ตามวัดต่างๆ จะมีหนังสือผูกและใบลานเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา
ฟอนต์อักษรธรรมอีสาน ฉบับของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ออกแบบตัวอักษรโดย พระครูศรีพุทธิบัณฑิต, ผศ.ดร. ผู้อำนวยการสำนักวิชาการวิทยาเขต ถูกนำไปพัฒนาเป็นฟอนต์โดย นายนิรันดร เลิศวีรพล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ชำนาญการ